เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาของ
ปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเลือกเฟ้นของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริย-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเร่าร้อนอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความแผ่ซ่านของปีติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการพิจารณาของอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฏฐิ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :407 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตรึกตรองของสัมมา-
สังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้ง
มิจฉาวาจาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น
สัมมาวาจาจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของสัมมาวายามะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
[240] ความใสมีอยู่ ความน่าดื่มมีอยู่ กากก็มีอยู่ ความใสคือความน้อม
ใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส1 ธรรมรส2 วิมุตติรส3
ในสัทธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
1 อรรถรส หมายถึงสามัญญผล 4 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
(องฺ.เอกก.อ. 1/335/436)
2 ธรรมรส หมายถึงมรรค 4 คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.เอกก.อ. 1/335/436)
3 วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. 1/335/436)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :408 }